เมนู

พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในรูป
อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว
ถ้าแม้รูปอันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง ซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในจักษุของ
ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะ
ป่วยกล่าวไปไยถึงรูปอันมีประมาณน้อย จักครอบงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณี
นั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร. เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุ
หรือภิกษุณีนั้นละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ราคะ โทสะ โมหะ ของ
ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่มีอยู่ในเสียง ในกลิ่น ในรส ใน
โผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง ภิกษุหรือภิกษุณีนั้น
ละราคะ โทสะ โมหะนั้นแล้ว ถ้าธรรมารมณ์อันมโนวิญญาณพึงรู้แจ้ง
ซึ่งมีประมาณยิ่ง มาปรากฏในใจของภิกษุหรือภิกษุณีนั้น ก็ยังครอบงำจิต
ของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นไม่ได้เลย จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมารมณ์อันมี
ประมาณน้อย จักครองงำจิตของภิกษุหรือภิกษุณีนั้นได้เล่า ข้อนั้นเพราะ
เหตุไร เพราะราคะ โทสะ โมหะนั้นไม่มี ภิกษุหรือภิกษุณีนั้นละราคะ
โทสะ โมหะนั้นได้แล้ว.
จบ ขีรรุกขสูตรที่ 4

อรรถกถาขีรรุกขสูตร


ในขีรรุกขสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า อตฺถิ มีอยู่ เพราะอรรถว่า ยังละกิเลสไม่ได้. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โส อปฺปหีโน. บทว่า ปริตฺตา ความว่า
จริงอยู่รูปแม้ขนาดเท่าภูเขา คนไม่เห็น ไม่พอเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ชื่อว่า
เล็กน้อย. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า รูปทั้งหลายแม้เห็นปานนั้น
ยังครอบงำจิตของผู้นั้นได้. บทว่า โก ปน วาโท อธิมตฺตานํ ความว่า
จะป่วยกล่าวไปไยเล่า ในคำที่ว่า อิฏฐารมณ์ อันเป็นวัตถุเป็นที่ตั้งแห่ง
ความยินดี จักไม่ครอบงำจิตของเขา. ก็ในที่นี้วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ยินดี มีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น แม้มีขนาดเท่าหลังเล็บ พึงทราบว่า
อารมณ์มีขนาดใหญ่ทั้งนั้น. บททั้ง 3 มีบทว่า ทหโร เป็นต้น เป็นไวพจน์
แห่งกันและกันนั่นแล. บทว่า ภินฺเทยฺย ความว่า พึงเฉาะ พึงกรีด.
จบ อรรถกถาขีรรุกขสูตรที่ 4

5. โกฏฐิกสูตร


ว่าด้วยปัญหาของท่านพระมหาโกฏฐิกภิกษุ


[295] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโกฏฐิกะ
อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้น เป็นเวลาเย็น ท่าน
พระมหาโกฏฐิกะออกจากที่พักแล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้
ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป
แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า
ท่านพระสารีบุตร จักษุเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรูป รูปเป็นสังโยชน์.
เครื่องผูกของจักษุ หูเป็นสังโยชน์เครื่องผูกของเสียง เสียงเป็นสังโยชน์